วิธีดูบัตรสีชมพู แรงงานต่างด้าว ที่หลายคนยังไม่ทราบ ว่าไม่เหมือนกัน

วิธีดูบัตรสีชมพู

ประเภทของบัตรสีชมพู ของแรงงานต่างด้าว มีความแตกต่างกันตามนโยบายแรงงาน

     บัตรสีชมพู เป็นบัตรประจำตัวคนต่างด้าว ที่นายจ้างหรือพี่น้องแรงงานต่างด้าวคุ้นเคย เคยรู้หรือไม่ว่า บัตรสีชมพูเหมือนกัน แต่มีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน สิทธิ์และสถานะก็ไม่เท่ากัน รวมทั้งบัตรสีชมพูบางประเภท ต้องมีขั้นตอนต่อถัดมา บทความนี้ จะมาอธิบายความแตกต่างของบัตรชมพูแต่ละประเภท เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและพี่น้องแรงงาน เพื่อได้ทราบสถานะตนเองและรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในขั้นตอนต่อไป

สารบัญ

บัตรสีชมพูหรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) คือ

ตามคำนิยาม ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้คำจำกัดความคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนี้

  1. คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
  2. คนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
  3. คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
  4. คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทำเพื่ออะไร

การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย คือ การนำแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่อยู่ในประเทศมาขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายของประเทศไทย โดยมีการนำบัตรสีชมพูมาใช้ในการระบุตัวตนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยการขึ้นทะเบียนแรงงานผิดกฎหมายจะไม่ได้มีเป็นการทั่วไป แต่จะขึ้นกับ นโยบาย สถานการณ์ความจำเป็น ณ ขณะนั้นๆ

ปี 2557 ไทยได้ถูกจัดอันดับการแก้ไขปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์อยู่ที่ระดับต่ำสุด คือ Tier 3 เป็นเหตุให้ คณะรัฐประหารต้องจัดระบบแรงงานต่างด้าวใหม่

กระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวปกติ จะต้องนำแรงงานต่างด้าวมาจากประเทศต้นทาง และดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้อง ตั้งแต่เข้ามาทำงานในประเทศ เรามักจะเรียกแรงงานเหล่านี้ว่า แรงงานนำเข้า MOU

ต่างจากแรงงานที่ขึ้นทะเบียนในประเทศ เพราะต่างด้าวเหล่านี้ผิดกฎหมายในประเทศไทยอยู่แล้ว

ขึ้นทะเบียนบัตรชมพู 61

วัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนต่างด้าว

การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ การแก้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ โดยประเทศไทยได้เคยถูกจัดอันดับการแก้ไขปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์อยู่ที่ระดับต่ำสุด คือ Tier 3 ซึ่งมีผลต่อการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังประเทศยุโรป และอเมริกา โดย เฉพาะ กลุ่มอาหารทะเล

อีกทั้งปัญหาแรงงานต่างด้าว ยังเกี่ยวข้องกับปัญหาความมั่นคงของชาติ และ ปัญหาอาญชญากรรมที่ตามมา ถ้าไม่มีการดูแลและควบคุมที่ดีพอ

Tier 3 คือ ประเทศที่ไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำในการขจัดการค้ามนุษย์ทุกประการ และไม่พยายามแก้ปัญหา

แรงงานต่างด้าว

ประเภทของบัตรสีชมพู

บัตรสีชมพู ระยะหลังได้ถูกใช้ในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และ ระบบการนำเข้า MOU ยังไม่ตอบโจทย์รองรับคนจำนวนมากเพราะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานและมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ผู้เขียนจะขอแบ่งประเภทบัตรสีชมพูใหญ่ๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ บัตรสีชมพู กลุ่มขึ้นทะเบียนใหม่ และ กลุ่มที่ต่ออายุบัตร (มีเอกสารระบุตัวตน)

บัตรชมพู OSS

1. บัตรสีชมพู กลุ่มขึ้นทะเบียนใหม่

การขึ้นทะเบียนกลุ่มนี้เป็นการขึ้นทะเบียนคนหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารประจำตัวพาสปอร์ต หรือ มีแต่หมดอายุไปแล้ว เป็นการขึ้นทะเบียนโดยไม่สนใจเอกสารต่างด้าวใดๆ ข้อมูลจะได้จากการสัมภาษณ์แรงงานต่างด้าว โดยข้อมูลหลักๆ จะเป็น ชื่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วันเดือนปีเกิด ชื่อพ่อ  ชื่อแม่ สะกดภาษาไทย ข้อมูลจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ จนกว่าจะผ่านการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง จากนั้นจะต้องไปถ่ายรูปทำบัตรสีชมพู โดยระยะหลังได้มีขั้นตอนการเก็บอัตลักษณ์บุคคล เช่น รายนิ้วมือ และ ม่านตา เพิ่มเติมไปด้วย

การพิสูจน์สัญชาติ คือ การพิสูจน์บุคคลว่าเป็นคนของประเทศนั้นจริงหรือไม่ โดยทางการไทยได้เชิญเจ้าหน้าที่จากประเทศต้นทาง มาพิสูจน์บุคคลและออกหนังสือรับรองบุคคลของประเทศนั้นๆ ซึ่งการพิสูจน์สัญชาติ เจ้าหน้าที่จะทำการสัมภาษณ์ ดูเอกสารทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ของแรงงาน

บัตรชมพู ปี 57

ตัวอย่าง บัตรสีชมพูปี 2558 ต่ออายุถึง 2559

2. บัตรสีชมพู กลุ่มที่ต่ออายุบัตร (มีเอกสารระบุตัวตน)

การขึ้นทะเบียนประเภทนี้ จะเป็นลักษณะผ่อนผันให้อยู่ต่อ เหตุผลหลักๆ เพราะเราขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก การนำแรงงานต่างด้าวเข้าระบบ MOU ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง อาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม ซึ่งกลุ่มนี้ต่างด้าวจะต้องมีพาสปอร์ตและผ่านการพิสูจน์สัญชาติมาแล้วได้เอกสารระบุตัวตน ในบัตรสีชมพูจะมีการใส่ หมายเลขพาสปอร์ตของแรงงานอยู่มุมบนซ้ายมือหน้าบัตร บัตรชมพูบางรุ่นมีการระบุวันหมดอายุวีซ่าลงไปด้วยตรงข้างหลังบัตร เช่น บัตรชมพู ปี 2561 เอกสารต่างด้าวของกลุ่มนี้ จะประกอบด้วย พาสปอร์ตหรือเอกสารที่ระบุตัวตน ที่มีการตรวจลงตราวีซ่าโดยตรวจคนเข้าเมืองและมีบัตรสีชมพูใช้แทนใบอนุญาตทำงาน

ตัวอย่างบัตรสีชมพู

ตัวอย่าง บัตรสีชมพู ปี 2561 ต่ออายุถืง ปี 2563

ตัวอย่างบัตรชมพู ปี 63

ตัวอย่าง บัตรสีชมพู ปี 2563 ต่ออายุถืง ปี 2565

ความแตกต่างระหว่างบัตรสีชมพูทั้ง 2 ประเภท

การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว โดยใช้บัตรสีชมพู แต่ละครั้งแตกต่างกันขึ้นกับสถานการณ์ความจำเป็นนั้น ดังนั้นเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ประเภท ผู้เขียนจึงจัดทำตารางเปรียบเทียบบัตรสีชมพูทั้งสองประเภท

ตารางเปรียบเทียบบัตรชมพูทั้งสองประเภท

สอบถามข้อมูล 
✅ Official Line ID @fastandeasy
✅ Line : @fast01 / @fast02 / @fast04
✅ โทร :  094 884 0004 , 065 052 5561
✅ Myanmar 🇲🇲: 065-513-2458