รับต่อใบอนุญาตทำงาน

ใบอนุญาตทํางาน MOU แรงงานต่างด้าว

 

บริการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ประเภท MOU ครบ 2 ปี และ 4 ปี

   แรงงานต่างด้าวทำงานถูกต้องได้ตามกฎหมาย ต้องมีใบอนุญาตทำงาน ซึ่งออกโดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยปกติทั่วไปใบอนุญาตทำงาน จะมีอายุ 2 ปี หรือ ตามระยะเวลาที่ได้อนุญาตตามวีซ่าทำงาน เมื่อครบกำหนด 2 ปี ถ้าประสงค์จะทำงานต่อในประเทศไทย ต้องทำเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ซึ่งเงื่อนไขในการต่ออายุขึ้นกับประเภทใบอนุญาตทำงาน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง : วิธีการดูวีซ่าแรงงานทำงานต่างด้าว

ประเภทของใบอนุญาตทำงาน ของคนต่างด้าว มี 2 ประเภท คือ 

1 ใบอนุญาตทำงาน ประเภท MOU คือ ใบอนุญาตทำงานที่ได้จากกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าว หรือ ที่เรียกว่า MOU วิธีสังเกตุง่ายๆ แรงงานต่างด้าวที่ได้บัตรประเทภนี้ ต้องเดินทางกลับไปยังประเทศต้นทาง ลาว กัมพูชา พม่า และเมื่อผ่านชายแดนเข้ามา จะต้องเข้าอบรมและถ่ายบัตรใบอนุญาตทำงาน ที่ศูนย์แรกรับเข้าทํางานและสิ้นสุดการจ้าง

2 ใบอนุญาตทำงาน ประเภท บัตรสีชมพู (บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย) คือ ใบอนุญาตทำงานแรงงาน ที่เกิดจากการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในประเทศ ซึ่งไม่ได้เปิดตลอดเวลา ขึ้นกับสถานการณ์ที่จำเป็น โดยประกาศเป็น มติคณะรัฐมนตรี เช่น มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 , มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้น

แนะนำให้อ่าน :  ต่อใบอนุญาตทำงาน ประเภท บัตรสีชมพู

ตัวอย่าง MOU

ใบอนุญาตทำงาน ประเภท MOU

ตัวอย่างบัตรสีชมพู

ใบอนุญาตทำงาน ประเภท บัตรสีชมพู

ประเภทใบอนุญาตทำงาน MOU

    ในหัวข้อนี้เราจะลงรายละเอียด เรื่องการการต่อใบอนุญาตทำงาน ประเภท MOU ซึ่งปกติ การนำเข้าแรงงาน MOU จะได้อายุใบอนุญาทำงาน 2 ปี เมื่อครบกำหนด 2 ปีสามารถทำเรื่องขออยู่ต่อได้ในประเทศไทยโดยไม่ต้องกลับประเทศต้นทาง ได้อีกสองปี ซึ่งบัตรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

กรณีไม่มีบัตร หรือ บัตรหมดอายุ แนะนำอ่าน : การนำเข้า MOU แรงงาน , การขึ้นทะเบียนบัตรสีชมพู

     1 ใบอนุญาตทำงาน MOU 2 ปีแรก จะได้รับจากศูนย์อบรมแรกรับและสิ้นสุดการจ้างงาน ซึ่งปัจจุบัน จะตั้งอยู่จังหวัดที่ติดเขตชายแดน คือ หนองคาย สระแก้ว และ ตาก แรงงานทุกคนต้องได้รับการอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ประเทศไทย และถ่ายบัตรแรงงานที่ศูนย์พร้อมรับบัตรที่ศูนย์เลย บัตรจะมีลักษณะเหมือนบัตรประชาชนสีชมพูอ่อน บนหัวบัตรเขียนว่าใบอนุญาตทำงาน หลังบัตรจะระบุอายุบัตรที่สิ้นสุด โดยถ้าแรงงานต้องการที่จะทำงานต่อในประเทศไทย ต้องต่อก่อนที่บัตรจะหมดอายุ 1 เดือน

ศูนย์แรกรับ ตาก

ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง จังหวัดตาก

ถ่ายบัตร MOU

ขั้นตอนการถ่ายบัตร MOU 2 ปีแรก

ตัวอย่าง MOU

ตัวอย่าง ใบอนุญาตทำงาน MOU 2 ปีแรก

     2 ใบอนุญาตทำงาน MOU 2 ปีหลัง จะต่างจากการได้รับบัตร 2 ปีแรก โดยแรงงานต่างด้าวผู้ประสงค์อยู่ทำงานต่อ สามารถยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานได้ที่ สำนักจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ ที่ตนเองทำงาน โดยต้องไป ตรวจลงตราวีซ่า ที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ต้องไปตรวจสุขภาพโรคต้องห้าม ตามกฎหมาย เพื่อขอใบรับรองแพทย์ ซึ่งเมื่อจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกใบที่เรียกว่า “ใบรับคำขอ” ดังในรูป ใบรับคำขอสามารถใช้แทนใบอนุญาตทำงานได้ จนกว่าจะได้รับตัวจริง (ดังรูป ตัวอย่าง ใบอนุญาตทำงาน MOU 2 ปีหลัง )ซึ่งเขียนไว้ในวันนัดรับ

ถ้าแรงงานครบกำหนดหลังจากต่อ 2 ปี จะเรียกว่า วาระจ้างงานครบ 4 ปี

ใบรับคำขอ ใช้แทนใบอนุญาตทำงาน

ใบอนุญาตทำงาน MOU

ตัวอย่าง ใบอนุญาตทำงาน MOU 2 ปี หลัง

แรงงานครบวาระ 4 ปี MOU ระหว่าง 1 พฤศจิการยน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สามารถต่อใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยได้เลย

โดยปกติ แรงงานต่างด้าว ระบบ MOU เมื่อครบวาระจ้างงาน 4 ปี ต้องกลับไปดำเนินการทำ MOU เข้ามาใหม่ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด ตาม มติ 10 พฤศจิการยน 2563 อนุญาตให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวสามารถดำเนินต่อใบอนุญาตทำงานในประเทศได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี วีซ่าครั้งละไม่เกิน 1 ปี

ขั้นตอนการต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

การต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานควรต่อก่อนหมดอายุ 1 เดือน เพราะถ้าเกินกำหนดจะมีบทลงโทษปรับสำหรับวีซ่า เป็นค่าปรับจำนวน 500 บาทต่อวัน และใบอนุญาตทำงานถ้าขาดเกินกว่า 30 วันจะไม่สามารถต่ออายุได้

  1.  ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน (ต้องเป็นโรงพยาบาลเท่านั้น ผลตรวจคลินิกใช้ไม่ได้) เพื่อขอใบรับรองแพทย์
  2. ตรวจลงตราวีซ่า ที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
  3. ยื่นต่อใบอนุญาต ที่สำนักจัดหางานพื้นที่
  4. รับใบอนุญาตทำงานตัวจริง ด้วยตนเองเท่านั้น

ขั้นตอนการการใช้บริการและค่าใช้จ่าย

  1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ ถ่ายเอกสารส่ง Line ตรวจสอบเบื้องต้น ว่าเข้าหลักเกณฑ์ต่อใบอนุญาตได้หรือไม่
  2. เจ้าหน้าที่ แจ้งเอกสารที่ต้องเตรียม พร้อมส่งแบบฟอร์มให้นายจ้าง print และเซ็นรับรอง
  3. นายจ้างพาแรงงานไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ของรัฐหรือเอกชนก็ได้
  4. ทำการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ สถานที่ และ เบอร์โทรผู้ติดต่อ เพื่อไปเก็บเอกสาร ฟรี !!
  5. หลังได้รับเอกสารจากนายจ้าง เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบและแจ้งชำระเงินงวดแรก 4,000 บาท
  6. เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานเสร็จเรียบร้อย ถ่ายรูปส่งให้นายจ้างตรวจสอบ นายจ้าง โอนเงินงวดที่สอง 3,900 บาท และแจ้งที่อยู่เพื่อจัดส่งกลับทางไปรษณีย์ EMS
  7. นายจ้างพาแรงงานต่างด้าวไปรับใบอนุญาตทำงานใหม่ ตามวันนัดรับในใบรับคำขอ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ติดต่อเจ้าหน้าที่
ราคาค่าบริการ

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อใบอนุญาตทำงาน

  1. ผลตรวจสุขภาพและใบเสร็จฉบับจริงจากโรงพยาบาล (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
  2. สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง 3 ฉบับ
  3. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง 3 ฉบับ
– กรณีถ้าไม่ใช่เจ้าบ้าน ขอสำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน และทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน 1 ชุด
– กรณีเช่าสถานที่ ขอสัญญาเช่า และ เอกสารสำเนาบัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า 1 ชุด
4. ทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามีกิจการ) 3 ฉบับ
5. หนังสือรับรองบริษัท(กรณีเป็นบริษัท อายุไม่เกิน 3 เดือน เซ็นและประทับตราทุกหน้า)  3 ฉบับ
6. เล่มพาสปอร์ตและใบอนุญาตทำงานฉบับจริง
7. รูปถ่ายคนงาน ฉากหลังขาว 4 รูป 1.5 นิ้ว ใส่เสื้อมีปก
8. สำเนาบัตรทำงาน ถ่ายหน้าหลัง 1 ชุด

*เอกสารทั้งหมดเซ็นสำเนาถูกต้อง ถ้าเป็นบริษัทเซ็นประทับตราแบบฟอร์มและมอบอำนาจ

ติดต่อเจ้าหน้าที่
ต่อใบอนุญาตทำงาน